แคหางค่าง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dipterocarpus alatus Roxb.
ชื่อเรียกอื่น : แคเขา
ชื่อวงศ์ : BIGNONIACEAE
ลักษณะ : ไม้ต้น สูง 5-15 เมตร ใบ ประกอบแบบขนนก ใบย่อย 4-8 คู่ รูปขอบขนาน รูปรีแกมขอบขนานถึงรูปใบหอก กว้าง 6-13 ซม. ยาว 12-26 ซม. มีต่อมรูปถ้วยที่โคนใบ ดอก สีเหลืองหม่น ขนาดใหญ่ เมื่อบานเต็มที่กว้าง 10 ซม. ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ผล แห้ง แตก รูปทรงกระบอก กว้าง 2.5-3.5 ซม. มีขนยาวคลายขนสัตว์ปกคลุมแน่น
การกระจายพันธุ์ : พบตามป่าเบญจพรรณชื้น และชายป่าดิบเขา ที่ระดับความสูง 400-1,600 เมตร ออกดอกเดือน ม.ค.-มี.ค.

ช่วงเวลาการออกดอก :

ประโยชน์ : ดอกสด รับประทานกับน้ำพริกหรือกับลาบ มีรสขม

การใช้ประโยชน์ด้านสมุนไพร :

  1. เมล็ดใช้เป็นยาบำรุงโลหิต
  2. เมล็ดใช้เป็นยาขับเสมหะ
  3. ตำรายาพื้นบ้านล้านนาจะใช้เปลือกต้นแคหางค่าง นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ท้องอืดเฟ้อ
  4. ใบใช้เป็นยาห้ามเลือด
  5. ใบใช้ตำพอกรักษาแผล แผลสด แผลถลอก แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก
  6. ใบใช้ต้มกับน้ำอาบหรือนำมาตำคั้นเอาน้ำเป็นยาทาหรือพอกแก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน หูด
  7. ชาวเขาเผ่าอีก้อ กะเหรี่ยงจะใช้ราก ต้น และเปลือกผล นำมาต้มกับน้ำอาบบรรเทาอาการปวดตามร่างกาย ปวดหลัง
  8. เมล็ดใช้เป็นยาแก้โรคชัก
Scroll to Top